พระซุ้มกอ กรุวัดทองแท่ง ลพบุรี

ราคา / สถานะ :
10,000
ชื่อร้าน เมืองนารายณ์
ประเภทร้าน SHOP
เบอร์โทร 0642033559
Line ID pattamaphun
จำนวนผู้ชม 44
ดูพระทั้งหมดในร้านค้า
ข้อควรระวัง ในการเช่าพระผ่านเว็ปไซต์

ต้องตรวจสอบพระ และ ตกลงเงื่อนไขการรับประกัน ให้เรียบร้อย

หากไม่เคยติดต่อ หรือรู้จักผู้ให้เช่ามาก่อน
แนะนำให้นัดดูองค์จริง

ทางเวปเป็นสื่อกลาง ไม่มีส่วนในการเช่าพระ
ลพบุรี 11 มิถุนายน 2567 08:09 AM
ชื่อพระ :

พระซุ้มกอ กรุวัดทองแท่ง ลพบุรี


รายละเอียดพระ :

ในบรรดาพระกรุต่างๆ ในเมืองลพบุรี ที่แตกกรุออกมาไม่ว่าจะเป็นพระกรุเก่าหรือพระกรุใหม่ แตกออกมานานแล้วหรือเพิ่งแตกก็ตามที มักจะเป็นพระที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นกรณีพิเศษแทบทุกครั้งที่ผ่านมา ในอดีตนั้นเมืองลพบุรี เป็นเมืองหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองในเรื่องของศาสนาพุทธ เป็นเมืองที่มีพระเครื่องและพระบูชา ตลอดจนกระทั่งเหรียญพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากไม่แพ้จังหวัดไหนๆของประเทศไทย พระกรุต่างๆ ทั้งหมดโดยมากจะเป็นพระที่มีพุทธคุณล้ำเลิศ มีคุณค่ามหาศาล และเป็นพระที่ปรารถนาของปวงชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง ขอยกตัวอย่างที่คนทั่วไปอยากได้พอเป็นสังเขปดังนี้คือ
พระหูยาน , พระนาคปรกวัดปืน , พระนาคปรกวัดมหาธาตุ , พระซุ้มนครโกษา , พระหลวงพ่อพัด , พระหลวงพ่อจุก , พระหลวงพ่อหมอ , พระหลวงพ่อแขก , พระนารายณ์ทรงปืน , พระสามพี่น้อง , พระซุ้มกระรอกกระแต , พระหูยานคอพอก , พระร่วงกรุม่วงค่อม , พระร่วงคีบ พระอู่ทองกรุวัดกระเบาเลียง (โพธิ์เก้าต้น) , พระร่วงกรุสนามม้า , พระเดี่ยวดำ-แดง , พระกรุวัดปากน้ำ , พระกรุวัดโพธิ์ศรี , พระกรุวัดโคกโพธิ์กุญชร , พระกรุวัดใหญ่ , พระกรุวัดบันไดสามแสน (หูไห) , พระกรุวัดกำแพง , พระกรุโคกยายผิน , พระกรุวัดเชิงท่า , พระกรุวัดศรี , พระหูยานกรุวัดอินทรา , พระกรุวัดราชา , พระทั่วไปอาจกล่าวได้ไม่หมด พระดังได้กล่าวข้างต้นนั้น ล้วนแต่เป็นพระที่ชาวต่างจังหวัดทั้งใกล้และไกลได้ยินเกียรติศักดิ์ที่เลื่องลือดังกระฉ่อนมาแล้วทุกยุคทุกสมัยไม่ว่า ข้าราชการทุกระดับชั้นที่ย้ายเข้ามาอยู่เมืองลพบุรี หรืออาจย้ายออกก็ตามที มักจะได้รับพระเป็นของขวัญ (แจกพระ) ทั้งผู้ให้และผู้รับย่อมมีความปิติและซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระมีคุณค่ามากกว่าเงินทองของขวัญอะไรก็สู้พระไม่ได้ บางครั้งพระช่วยให้เข้างานได้ พระช่วยให้ได้สองขั้น พระช่วยให้ ... อะไรต่อมิอะไรอีกเยอะแยะ
ผู้ที่ได้รับพระนั้นอาจจะได้รับของแท้หรือของปลอมยังเป็นปัญหา เพราะบางทีผู้ให้กับผู้รับไม่เคยรู้เรื่องพระมาก่อนก็ไม่ขอรับรองว่าจะได้ของแท้หรือของปลอมกันแน่ เพราะที่ผมมิได้กล่าวก็มีอีกมากมายและที่ยังไม่รู้ก็มีอีกเยอะซึ่งเป็นพระที่นอกเหนือที่ได้กล่าวมาแล้วแทบทั้งสิ้น วันนี้ผู้เขียนก็ขอแนะนำให้ท่านที่เคารพรักของผมได้รู้จักกับพระกรุหนึ่ง ซึ่งเป็นพระที่ผู้สร้างมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาในพระคุณของพระอาจารย์โดยไม่ได้มีพิธีกรรมปลุกเสกลงเลขยันต์เหมือนพระคณาจารย์ทุกอย่างครบถ้วนกระบวนความอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมและโด่งดังที่สุดสมัยหนึ่งนั่นคือหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท โดยศิษย์เอกของพระคุณท่านทั้งสอง ได้จัดสร้างขึ้นตามตำรับตำราของพระอาจารย์ทุกอย่าง และนำไปบรรจุไว้ ณ บนยอดซุ้มเสมาหน้าพระอุโบสถวัดทองแท่งนิสยารามในภายหลัง และพระดังกล่าวนี้ก็ได้ให้คุณประโยชน์แก่วัดทองแท่งเป็นเอนกประการ คือ นำออกให้ประชาชนเช่า แล้วเอาปัจจัยมาก่อสร้างถาวรวัตถุได้หลายอย่าง เช่น กำแพงแก้ว และอื่นๆ พระกรุนี้ชาวลพบุรีนิยมเป็นอย่างยิ่ง และมีชาวต่างจังหวัดรู้ข่าวก็มีจดหมายมาถึงเจ้าอาวาสเพื่อจะขอเช่าก็ยังมี แต่เป็นที่น่าเสียดายเพราะพระดังกล่าวได้หมดไปเสียก่อน เพราะพระได้แตกรุมานาน พระจึงอยู่กับชาวบ้านใกล้เรือนเคียงกับวัดและบุคคลทั่วๆไป ลักษณะของพระมีความเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การเลี่ยมห้อยคอ และเป็นที่มีมงคลนาม และนามมงคลเสียอีก โดยมีชื่อเสียงเรียกขานเหมือนกับพระเมืองกำแพงเพชรเสียด้วยสิ เป็นพระที่มีคุณวิเศษในทางคงกระพันชาตรี และในทางแคล้วคลาด โดยจากประสบการณ์จากผู้ที่นำไปใช้ได้เกรุณาเล่าให้ฟังหลายครั้งหลายราย พระที่ว่านั้นไซร้ก็คือ พระซุ้มกอวัดทองแท่ง อันเป็นพระกรุหนึ่งที่ชาวลพบุรีมีความภูมิใจยิ่งในเนื้อหาสาระ สนิมกรุ และรูปพรรณสัณฐานต่างๆ กายวิภาคและองค์ประกอบแห่งศิลปะ มองดูมีความซึ้งในตัวเอง และเป็นสนิมแดงคล้ายกับพระวัดกรุวัดหนองมนนั้นเสียด้วย ความดีเด่นของพระกรุวัดทองแท่ง กับกรุวัดหนองมนนั้นเป็นพระที่มีความนิยมที่ใกล้เคียงกันมาก และจากการแตกกรุก็ไม่ห่างไกลกันเท่าไรนัก กับเป็นพระที่รู้อาจารย์ผู้สร้างด้วย จึงมั่นอกมั่นใจและเชื่อได้ว่า พระดังกล่าวเป็นพระแท้ พระดี และจะต้องมีคุณวิเศษยอดเยี่ยมอย่างไม่ต้องสงสัยจึงเป็นพระที่ดีกว่าพระที่ไม่ได้ปลุกเสกหรือเข้าพิธีอะไรเลยเป็นแน่แท้ ความดีของพระกรุวัดทองแท่ง และความดีของพระคณาจารย์ทุกองค์ในวัดทองแท่งนี้ได้ปกครองพระลูกวัดตลอดมานั้นเป็นอย่างไร ผู้เขียนก็ขอนำท่านมาพบกับประวัติเล็กๆ น้อยๆดังต่อไปนี้คือ


วัดทองแท่ง หรือ วัดทองแท่งนิสยารามตามที่สืบสวนประวัติความเป็นมาของวัดได้ความว่า เดิมชื่อวัดแท่งทอง ต่อมาสมัยพระอาจารย์สำเภาเป็นเจ้าอาวาสวัด จัดการบูรณะวัดแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดทองแท่งนิสยาราม" จนกระทั่งปัจจุบัน คงสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 เป็นวัดที่ราษฎรได้ร่วมกันก่อสร้างขึ้น ที่ตั้งของวัดตั้งอยู่ที่ ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีด้านทิศใต้ หมู่ที่ 5 ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี อยู่ห่างจากตัวเมืองลพบุรีประมาณ 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับหลายวัด เช่น วัดอัมพวัน , วัดกลาง , วัดโพธิ์ระหัต , วัดสิงห์ทอง ฯลฯ
วัดทองแท่งเป็นวัดสังกัดมหานิกาย มีอุโบสถ 1 หลัง สันนิษฐานว่า ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำเนียบเจ้าอาวาสที่สืบได้มีดังนี้
หลวงพ่อเณร
หลวงพ่อชื่น
พระครูศิลวรคุณ (ผึ้ง)
พระอาจารย์มั่น
พระอาจารย์สงวน
พระอาจารย์หลง
พระอาจารย์ฤกษ์
พระอาจารย์ฟู (ครั้งที่ 1)
พระอาจารย์ก้อน
พระอาจารย์ฟู (ครั้งที่ 2)
พระอาจารย์อ่อน
พระอาจารย์มาก
พระอาจารย์จันทร์
พระอาจารย์เภา
พระอาจารย์ตุ๊ย
พระอาจารย์ชื่น
พระปลัดเล็ก
พระครูสมศักดิ์ นิลวณฺโณ
เจ้าอาวาสต่างๆ ดังกล่าวได้ดูแลปกครองพระลูกวัด (ภิกษุ-สามเณร) สืบกับ มาหลายองค์ บางองค์บางรูปปกครองอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน บางรูปก็ปกครองในระยะเวลาอันสั้น มีหมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้ๆ กับวัดอย่างหนาแน่น โดยมีแม่น้ำลพบุรีนี้ ต้นกำเนิดแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงใต้วัดเสถียรวัฒนดิษฐ์ (วัดท่าควาย) สิงห์บุรี แม่น้ำลพบุรีเปรียบเสมือนหนึ่งสายโลหิตที่สำคัญยิ่งของชาวลพบุรีก็ว่าได้ประชาชนชาวลพบุรีหลายเชื้อสายทั้งไทย จีน ชาวมอญ ได้ใช้น้ำสายนี้ทำการกสิกรรมเกษตรกรรม ใช้ดื่ม อาบ และใช้สัญจรไปมาหาสู่กันในอดีตตามลำน้ำมาโดยตลอด
ถึงเวลาวันประเพณีต่างๆ เช่น วันมหาสงกรานต์ วันตรุษ และวันไหว้พระประจำปี วันแห่รูปหลวงพ่อกรัก พระอาจารย์ดังแห่งวัดอัมพวัน จะมีชาวไทยรามัญ ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันนั้น นำรปูหล่อของหลวงพ่อออกแห่แหนไปตามลำน้ำลพบุรี ถือว่าเป็นประเพณี ระหว่างเดือน 12 ของทุกปี โดยแห่ไปถึงเขตอำเภอท่าวุ้งเป็นประจำ ชาวไทยและชาวมอญซึ่งตั้งบ้านเรือนกันเป็นกลุ่มก้อน ทั้งตำบลบางขันหมากจะทำบุญตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีวัฒนธรรมอันดีดังกล่าวข้างต้น
การสัญจรไปมาหาสู่กันสมัยก่อนนั้นยังไม่มีถนนหนทางเหมือนปัจจุบัน จะต้องอาศัยแม่น้ำเป็นหลักสำคัญ โดยใช้เรือพาย เรือยนต์ เรือจ้าง ถ้าเดินทางด้วยเท้าโดยมากจะใช้ม้าเกวียน และใช้ช้างเป็นพาหนะ สมัยก่อนนั้นความเจริญต่างๆไม่มี ถนนหนทางรถราต่างๆ มีน้อยมาก ความลำบากจึงมีมากกว่า ถ้าจะเปรียบในอดีตที่ผ่านมากับปัจจุบัน ก็เหมือน "ฟ้ากับดิน"
ในโอกาสนี้ขอแนะนำท่านที่เคารพให้รู้จักกับวัดแท่งทองเพียงวัดเดียวเท่านั้น ตามการสันนิษฐานว่าวัดนี้อาจจะสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ อาจจะถูกและอาจจะผิดได้ เพราะเป็นการลงความเห็นในการคาดคะเนไว้ก่อนจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ภายในบริเวณวัดน่าจะเชื่อได้ว่าวัดนี้อาจจะสร้างก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เพราะว่ามีสิ่งที่น่าคิดคือ พระอุโบสถของวัดเปิดได้ด้านเดียว (เรียกว่าโบสถ์มหาอุด) พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระหินทรายสร้างในสมัย - อยุธยาแน่ สิ่งดังกล่าวนี้น่าจะเป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างหนึ่ง จะอย่างไรก็ตามไม่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเรื่องนี้ สิ่งอื่นๆ สำคัญกว่า เช่น พระประธานในโบสถ์นั้นมีความสำคัญยิ่ง มีคนเชื่อและเล่าลือกันว่า หลวงพ่อหินซึ่งอยู่ในโบสถ์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก หากใครไปทำมิดี มิร้ายจะได้รับอันตรายทันตาเห็น จนถึงกับมีกรรมการวัดจัดสร้างเหรียญขึ้นมาเพื่อให้คนทั่วไปได้สักการะบูชา เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชากราบไหว้และเป็นเหรียญหนึ่งที่พวกวัยรุ่นทั้งหลายเชื่อมั่นในเรื่องพุทธคุณในความศักดิ์สิทธิ์และมหัศจรรย์หลายๆ อย่างเพราะมีประสบการณ์ดีเด่นเชื่อถือได้
รอบโบสถ์จะมีใบเสมา 8 ใบ ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง สำหรับด้านหน้านั้นเป็นด้านที่สำคัญมากอยู่ทางทิศตะวันออก จะมีซุ้มประตูและซุ้มเสมาซุ้มหนึ่ง ตอนบนของซุ้มจะสร้างเหมือนมณฑป หรือยอดเจดีย์ คนที่บวชเรียนหรืออุปสมบทจะต้องใช้เป็นที่วันทาเสมา ณ ซุ้มแห่งนี้ นี่แหละคือที่มาของพระกรุวัดซุ้มกอวัดทองแท่ง ซึ่งเป็นพระที่มีความดีเด่นในพุทธคุณและทำให้วัดทองแท่ง ซึ่งพระซุ้มกอดังกล่าวนี้ได้บรรจุไว้ตอนช่วงบนของยอดซุ้ม (คล้ายกับคอระฆังเจดีย์) ภายในซุ้มจะมีใบเสมาลึกลงไปจะเป็นลูกนิมิตรฝังรวมอยู่ใต้ล่างใบเสมา เมื่อประมาณ 50 ปีเศษ พระอาจารย์เภา ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดทองแท่ง องค์ที่ 14 ได้ทำการเปิดกรุอย่างเป็นทางการได้พบพระเครื่องเป็นจำนวน 1 บาตรพระ เรียกว่ามากพอดูทีเดียว มีลักษณะเล็กกะทัดรัดคล้ายพระซุ้มกอกำแพงเพชร ผู้สร้างได้จินตานาการแกะแม่พิมพ์เป็นภาพนูนต่ำ มีส่วนที่ผิดกันกับพระกำแพงเพชรตรงที่ไม่มีกนกข้างไม่มีประภามณฑล แต่มีเอกลักษณ์แห่งการตรัสรู้ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ปางตรัสรู้ (ประทับโคนต้นศรีมหาโพธิ์ต้นไม้ในพุทธประวัติ) มีใบโพธิ์เป็นเม็ดคล้ายไข่ปลาปกคลุมอยู่เหนือศีรษะ บางองค์ก็ไม่มีโพธิ์ เป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงจัดมาก (ไม่ใช่เนื้อดิน) มีขนาดเท่ากับพระซุ้มกอพิมพ์เล็กของเมืองกำแพง นั่งสมาธิ มีซุ้มนูนคล้ายซุ้มครอบแก้วของพระวัดระฆัง การเปิดกรุครั้งนั้นเปิดก่อนกรุพระรอดวัดหนองมน พระกรุนี้มีผู้เล่าว่า ก่อนจะเปิดหรือก่อนจะพบพระอาจารย์เภาและมัคนายกได้ทำการก่อสร้างตบแต่งกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ เห็นว่าพระดังกล่าวนี้น่าจะมีประโยชน์ในการก่อสร้าง จึงได้นำไปให้ประชาชนทั้งหลายเช่าในราคาองค์ละ 1 บาทเท่านัน ได้เงินมาเป็นจำนวนมาก และนำเงินนั้นมาก่อสร้างเช่น ซื้ออุปกรณ์และวัสดุต่างๆ สร้างกำแพงแก้วจนสำเร็จ พระกรุนี้ใครเป็นผู้สร้าง ก็มีผู้รู้เล่าว่า ผู้สร้างพระกรุนี้คือพระอาจารย์หงิม และอาจารย์ปุ่น ซึ่งทั้งสองรูปที่กล่าวนี้เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท สร้างขึ้นไว้เพื่อเป็นพุทธบูชาพระคุณที่หลวงพ่อได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้โดยที่อาจารย์ทั้งสองที่กล่าวข้างต้นเป็นชาวบางขันหมากโดยกำเนิดและได้บวชเป็นสามเณรอุปสมบทอยูที่วัดศรีสุทธาวาส หลวงปู่ศุขได้นำไปอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าเพื่อให้ร่ำเรียนวิชา คัมภีร์มูลกัจจายนะให้ทะลุปรุโปร่ง ท่องจำได้ขึ้นใจทุกตัวอักษรอย่างครบถ้วนถูกต้อง เมื่อเรียนวิชาต่างๆ จนสำเร็จแล้วทั้งสององค์กลับมาอยู่วัดสิงห์ทอง และวัดทองแท่ง อยู่คนละวัดกัน วิชาที่ทั้งสองเรียนมานั้นเรียนมาคนละอย่างเรียกว่า ศิษย์เอกทั้งสององค์นี้เก่งคนละทาง องค์หนึ่งเก่งในทางอาคม ไสยศาสตร์ เวทมนต์ อีกองค์หนึ่งเก่งในทางเป็นหมอแผนโบราณ เป็นผู้สร้างพระซุ้มกอกรุนี้บรรจุไว้ในซุ้มเสมาด้านหน้าโบสถ์ อาจารย์หงิม เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดสิงห์ทองมาก่อน ท่านมีเรือโป๊ะไม้สักอย่างเก่าอยู่ 1 ลำ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ที่วัดทองแท่งในสภาพที่สมบูรณ์ทีเดียว
พิธีกรรมที่พระอาจารย์ทั้งสองช่วยกันสร้างขึ้นมานั้นจะต้องดีอย่างแน่นอน และจะต้องกระทำแบบเดียวกันกับที่อาจารย์ได้สั่งสอนมาหลวงปู่ศุขท่านได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ศิษย์ ศิษย์ย่อมจะต้องทำให้ได้ใกล้เคียงกับพระอาจารย์ พระกรุวัดทองแท่งนี้บางคนไม่รู้จริงก็ยัดวัดยัดวาส่งเดชเป็นพระกรุอื่นไปก็มี ความจริงแล้วพระชนิดนี้เท่าที่รู้ และสืบทราบมาก็พบว่ามีเพียง 2 แห่งเท่านั้น คือ กรุวัดทองแท่งหนึ่งแห่ง และที่วัดศรีสุทธาวาสนี้พิมพ์จะออกเล็กนิดหนึ่ง เมื่อเรานำมาเปรียบเทียบกันดูจะรู้ทันทีว่า องค์ไหนเป็นวัดทองแท่งและองค์ไหนวัดศรีสุทธาวาสคับ

ซื้อยางที่ YELLOWTIRE เลือกร้านติดตั้ง TYREPLUS

เราคัดสรร พระเด่น พระดี ระดับคุณภาพ มากกว่า 100,00 รายการมารวมไว้ ที่นี่!!

พระเครื่องในร้าน
พระเครื่องที่คล้ายกัน

แม็กกาซีนพระ เรารวมสาระความรู้ และ บทความเกี่ยวกับพระที่น่าสนใจ